Hall of INTANIA โครงการปรับปรุงหอประชุมคณะวิศวฯ จุฬาฯ เพื่อรองรับสำหรับอนาคต

Hall of INTANIA โครงการปรับปรุงหอประชุมคณะวิศวฯ จุฬาฯ เพื่อรองรับสำหรับอนาคต

หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ รองรับผู้ชมได้ 500 คน ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2508 โดย ศ.อรุณ ชัยเสรี เป็นผู้ออกแบบให้หอประชุมแห่งนี้ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น เพื่อใช้เป็นแหล่งสร้างคน รวมพลถ่ายทอดสรรพวิชาความรู้เชิงช่างจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นแหล่งรวมใจนิสิตวิศวฯ ให้มาพบปะทำกิจกรรม สานสัมพันธ์ฉันพี่น้อง รักเพื่อนพ้อง และหลอมรวมกันเป็นหนึ่งสรรค์สร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผ่านร้อน ฝน หนาว มากว่า 5 ทศวรรษ
ในปัจจุบันหอประชุมแห่งความภาคภูมิใจของเรามีอายุล่วงเข้าสู่ขวบปีที่ 57 แล้ว ทรุดโทรมลงไปมากตามกาลเวลา คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ผนึกกำลังกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) จัดทำโครงการ “Hall of INATANIA” ปรับปรุงหอประชุมคณะวิศวฯ จุฬาฯ และภูมิทัศน์โดยรอบครั้งใหญ่ที่สุด เพื่อให้น้องๆ นิสิตปัจจุบันและรุ่นต่อๆไป สามารถมีหอประชุมที่ทันสมัยและเหมาะแก่การใช้งานทั้งด้านการเรียนการสอน การทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยจะทำการ
  • ปรับแบบสถาปัตยกรรมภายในและภายนอกให้โดดเด่นล้ำสมัย
  • ปรับระบบไฟฟ้าและแสงสว่างพิเศษ
  • ปรับระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
  • ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย
  • ปรับเก้าอี้หอประชุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เบาะนุ่ม นั่งสบาย เหมาะแก่การใช้ในการเรียน
  • ติดตั้งระบบจอแบบ Panoramic LED Wall พร้อมระบบเสียง Digital Surround (SL/SR)
  • เพิ่มขีดความสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายชาวอินทาเนียทุกวัยทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์
  • กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นได้จากทั่วทุกมุมโลกด้วยระบบ IoT, Internet of Thing
ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการปรับแบบ ขออนุญาตก่อสร้าง และจะเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนกันยายน 2565 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนเดือนสิงหาคม 2566 เพื่อให้ทันจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ วศ.2566

เพื่อให้โครงการสามารถเสร็จทันการใช้งานในปี 2566 และสามารถควบคุมคุณภาพให้เหมาะสมในการใช้งาน ทาง สวจ. จะรับภาระในการจัดทำโครงการเอง ซึ่งทำให้ไม่สามารถออกใบเสร็จที่สามารถนำไปให้ลดหย่อนภาษีได้

สวจ. ขอเชิญชวนนิสิตเก่าและผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนโครงการ Hall of INTANIA รายละเอียดมีดังนี้

(1) ผู้บริจาค 10 ล้านบาท ขึ้นไป : ได้รับการประกาศเกียรติคุณขึ้นตราสัญลักษณ์หน่วยงาน/องค์กรภายในหอประชุม (สงวนสิทธิ เพียง 6 รายเท่านั้น)
(2) บริจาค 1 ล้านบาทขึ้นไป : ได้รับการประกาศเกียรติคุณขึ้นรายนามหน้าหอประชุม (สงวนสิทธิ เพียง 40 รายเท่านั้น)
(3) บริจาค 2 แสนบาท : ได้รับการประกาศเกียรติคุณจารึกนามไว้ที่เก้าอี้หอประชุมแถวที่ 1-3 (สงวนสิทธิเฉพาะชาวอินทาเนีย เพียง 60 รายเท่านั้น)
(4) บริจาค 1 แสนบาท : ได้รับการประกาศเกียรติคุณจารึกนามไว้ที่เก้าอี้หอประชุมแถวที่ 4-6 (สงวนสิทธิเฉพาะชาวอินทาเนีย เพียง 60 รายเท่านั้น)
(5) บริจาค 5 หมื่นบาท : ได้รับการประกาศเกียรติคุณจารึกนามไว้ที่เก้าอี้หอประชุมแถวที่ 7 ขึ้นไป (สงวนสิทธิเฉพาะชาวอินทาเนีย เพียง 280 รายเท่านั้น)
(6) บริจาคตามอัธยาศัย จำนวนเท่าใดก็ได้ แล้วแต่น้ำใจของชาว Intania ที่จะช่วยให้การปรับปรุงหอประชุมสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ให้ทันสิงหาคม 2566

  • บริจาคได้แล้ววันนี้ที่บัญชี: ธ.กรุงเทพ สาขาจามจุรีสแควร์
  • ประเภทกระแสรายวัน
  • ชื่อบัญชี สมาคมนิสิตเก่าวิศวจุฬาฯเพื่อปรับปรุงห้องประชุมคณะวิศวจุฬาฯ
  • เลขที่ 939-3-01072-4
(ส่งหลักฐานการบริจาคเพื่อขอจารึกชื่อท่านไว้เป็นส่วนหนึ่งในหอประชุมมาที่ LINE ID : @intaniaalumni)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-218-6447, 02-218-6498

ผู้บริจาคสามารถเลือกรับใบเสร็จรับเงินจาก สวจ.โดยสามารถให้ระบุเป็นเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนโครงการ และจะได้รับหนังสือขอบคุณจากคณะไปพร้อมกันนี้ด้วย

“เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” สวจ. และคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกันจัดงานเสวนา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) จัดงานเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”...

 โครงการ “ธัมมเจดีย์ – พระเจดีย์ที่ไม่ได้สร้างด้วยอิฐปูน แต่สร้างด้วยธรรมะ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

เชิญร่วมสร้างบุญยิ่งใหญ่ที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย ด้วยการอัญเชิญพระไตรปิฎกเข้าสู่ระบบดิจิทัลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

สวจ. เปิดตัวหลักสูตรผู้นำ 7 สัปดาห์ เพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรมนิสิต

สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวหลักสูตรใหม่ Leadership Wisdom Bootcamp! บ่มเพาะผู้นำคุณภาพ เพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคม

Scroll to Top

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?

คำเตือน

ท่านกำลังออกจากเว็บไซต์ปัจจุบัน
ท่านต้องการจะออกจากเว็บไซต์นี้หรือไม่?