วิศวฯ จุฬาฯ กับหลักสูตรเพื่อความก้าวหน้า ด้านยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย

บทบรรณาธิการ จากบริบทการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแนวคิดของการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ทยุดนิ่งอยู่กับที่ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนถูกนำมาเป็นต้นแบบแพลดฟอร์มการศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลักตันขึ้น เรียกว่า “PIES” หรือ “Platform of Innovative Engineering for Sustainability”ภายใต้แนวคิดให้ผู้เรียนสามารถออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองตามความสน์ใจ ผู้เรียนจะสามารถสะสมประสบการณ์องค์ความรู้จากรายวิชาเรียนไปสู่เป้าหมายปลายทาง ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบขององค์ความรู้ตามที่คาดหวัง และ/หรือปริญญาบัตรในหลักสูตรที่นำไปใช้เป็นส่วนเสริมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อให้กับผู้เรียนนั้น “แพลตฟอร์มการศึกษา PIES” ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1″โครงการChulaEngineeringสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” สนับสนุนกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของคนเองอย่างต่อเนื่อง ผ่านการยกระดับทักษะองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม (Upskll! และเสริมทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อให้ผลลัพธ์ของงาน หรือนวัดกรรมที่สร้างสรรค์ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Reskill) จุดเต่นของโครงการที่สำคัญอีกประการ คือ ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตรายวิชาที่เรียนไว้ใน “ระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank)” เพื่อเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ 2 “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสหสาขาวิชานวัตวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน (Innovative Engineering for Sustainability :IES)” เป็นหลักสูตรใหม่ที่ตอบโจยย์การสร้างการเติบโตของประเทศอย่างมีส่วนร่วมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้เรียนรายวิชาในโครงกา5ChulaEngineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตยังสามารถนำผลการเรียนที่ละสมไว้ในระบบคลังหน่วยกิตมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาได้รวดเร็วขึ้นด้วย

ในปี 2565 นี้หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์คือ การขับเคลื่อนและผลักตันให้แพลดฟอร์มการศึกษา PIES เป็นส่วนช่วยให้เกิดสังคมการเรียนรู้คลอดชีวิตและการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของประชาคมจุฬาลงกรณ์หาวีทยาลัยและประเทศไทย ในวารสาร PIES ฉบับแรก ทุกท่านจะได้เริ่มทำความเข้าใจแพลดชอร์มการศึกษา PIES ผ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนรายวิซาในโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัดกรรมงานวัจัยที่เป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชาเรียนซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จนาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอน เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับผู้สนใจทุกภาคส่วนผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมสาสตร์เราเชื่อเสมอว่า PยS จะเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับสั่งคมไทยอย่างแนนอน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุหาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดโครงการใหม่ ที่มีแนวคิดสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LifelongLearning)ด้วยการปรับการเรียนการสอนใหม่เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนยุคใหม่ที่มักจะต้องเผชิญกับสังคมที่มีการแข่งขันสูงและกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทั้งในเชิงโครงสร้างและเทคโนโลยีในตลาดแรงงานยุคใหม่ ซึ่งเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2565 นี้ โครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) สอดรับกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัดกรรม (อว.) โดยโครงการใหม่ที่กำลังจะเปิดสอนนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนในหลากหลายกลุ่ม ทั้งคนทำงาน นิสิต นักศึกษาที่กำลังจะจบ รวมถึงเยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจจะศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเดิมในศาสตร์แห่งศตวรรษหน้า ภายใต้แนวคิดหลัก คือ การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนในกลุ่มต่างๆ ที่มีพื้นฐานที่หลากหลาย และได้เรียนร้องค์ความรู้ใหม่ๆตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเปิดตัว Platform of Innovative Engineering for Sustainability (PIES) แห่งการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง มุ่งเนันการเสริมความรู้ (Reskill and upskil) จัดกลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวเนื่อง เป็น Module ในรูปแบบ MicroPiogamที่ผู้เรียนสามารถเลือกจัดรูปแบบ่องค์ความรู้ได้ตามความสนใจของตนเองได้อย่างอิสระซึ่งนำไปสู่การการเรียนการสอนแบบ CustomizedLearingโดยร่วมกับผู้ประกอบการองค์กรการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น Couresera และ หลักสูตรต่างๆ ของคณะฯ กว่า 15 หลักสูตร เป็นต้น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยน้นระบบนวัดกรรมการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่

ซึ่งเป็น PIES ที่ให้อิสระแห่งการเรียนรู้แก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม ทุกความต้องการ ทั้งในระบบปริญญา (Degree program) และระบบเรียนรู้
เพื่อเสริมทักษะ (Non degree certicate program) โดยมีลณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้และทักษะเฉพาะต่าง ๆ ผ่านระบบคลังวิซา (Credit Bank) ให้ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตไว้เพื่อดำเนินการต่อยอดการเรียนรู้แบบตลอดชีวิตและไร้ขีดจำกัตของตัวเองต่อไปในอนาคต เพื่อให้กับเข้าสังคมยุคดิสรัปชัน (Disuption) ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้วยเทศโนโล่ยีอย่งรวดเร็ว

สำหรับกลุ่มคนทำงานคนที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาหรือน้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย โครงการ Chula Engineeringสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตนี้ยังเปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการมาเพิ่มทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากหลักสูตรที่เรียนปกติได้อย่างหลากหลายวิชาที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้าน Soft Skills (ทักษะการคิดวิเคราะห์) และ Hard Skills (ทักษะการฝึกฝนด้านวิชาชีพและความเชี่ยวชาญ) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น วิชา Machine Learning and Time Series Analysis (การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning กับการวิเคราะห์ตามลำดับเวลา), Practical IoT (การฝึกหัดการใช้ Internet of Things ในชีวิตประจำวัน), System perspectives on EV technology (เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า), Environmental Trend, Technology and Innovation (ทิศทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการจัดการสิ่งแวดล้อม), Intergated Water Resources Management (บูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ) เป็นต้น

 PIES (Platform of Innovative Engineering for Sus-tainability) คือโครงการใหม่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีแนวคิดสนับสนุนการเรียนรู้
ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) มุ่งเน้นการเสริมความรู้
(Reskill and upskill) จัดกลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวเนื่อง เป็น Module
ที่ผู้เรียนสามารถเลือกจัดรูปแบบองค์ความรู้ได้ตามความสนใจ
ของตนเองได้อย่างอิสระโดยร่วมกับผู้ประกอบการ องค์กรการ
เรียนรู้ต่าง ๆ หลักสูตรต่าง ๆ ของคณะฯ กว่า 15 หลักสูตร โดย
วันนี้เราจะพาท่านไปรู้ทำความรู้จักกับหนึ่งหลักสูตรวิชาของ
PIES คือ วิชา “ปลุกธุรกิจ ปั้นอนาคต ยานยนต์ไฟฟ้า (Paving your way to E-Mobility)” และภาพรวมของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากรหัวหน้าศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ SMARTMOBI ซึ่งเป็นหัวหน้ารายวิชา และอาจารย์ผู้สอนในวิชานี้

ทิศทางของยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ในประเทศไทยเป็นอย่างไร

เริ่มมีการให้ความสนใจมากขึ้น และมีการตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นมากซึ่งต่างกับสมัยก่อนที่ถึงจะมีความสนใจแต่การตัดสินใจซื้อค่อนข้างยาก และในปัจจุบันมีการกล่าวกันว่า EV จะเป็นยานยนต์แห่งอนาคตที่จะครองถนนทั่วโลกเนื่องจากเทคโนโลยีที่เข้ามาจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และภาพรวมในระดับโลกเริ่ม Take off แล้ว และการ Take off แบบนี้จะเข้าไปครอบคลุมส่วนแบ่งการตลาดที่สูง

ในด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามีหลายรูปแบบที่เราคุ้นเคยจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่แต่ก็ยังมีรูปแบบอื่นอีกเช่นรูปแบบที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงซึ่งก็ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแต่ไฟฟ้าจะมาจากเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ใฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานดังนั้นเรา
ต้องตระหนักว่ามันมีความหลากหลายในเทคโนโลยี

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่นิยม

เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม คือมีการผลักดันตรงนี้มาเป็นระยะ ๆ ผ่านมาทางรัฐบาล แต่ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทศโนโลยีก็คือยานยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เขยิบมาก็เรียกได้ว่าเป็นทั้งสองส่วน ภาครัดก็ขยับเขยื้อน แล้วก็เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาทุกภาคส่วน ก็ทำให้วงการยานยนต์มีการปรับตัว

สรุปก็คือเป็นเพราะคนหันมาสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์

ถึงแม้ว่าปัจจุบันคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้เป็นส่วนที่ทำให้ตัดสินใจซื้อดังนั้นในส่วนของสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่องค์กรนานาชาติมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับมา ทำให้ภาครัฐของเราก็ต้องรับมาเป็นลำดับขั้นในส่วนของประชาชนคิดว่าให้ความสนใจที่ว่า EV เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า

เรียกได้ว่าเวลานี้เป็นช่วงที่รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากที่สุดใช่หรือไม่

การให้ความสนใจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าอาจะมีมากบ้างน้อยบ้างเป็นระยะ ๆ แต่ในเรื่องของการตัดสินใจซื้อเรียกได้ว่าเป็นจุดที่น่า
สนใจมาก ๆ

รถยนต์ EV มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

ยานยนต์ไฟฟ้าที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. ไฮบริดซึ่งในบ้านเราใช้มาเกือบ 10ปีแล้วเรียกได้ว่าเป็นลูกผสมระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้ากับเครื่องยนต์ ใช้ในการขับเคลื่อนล้อ
  2. ไฟฟ้าล้วน อันนี้ไม่มีเครื่องยนต์เลย มีแต่มอเตอร์
  3. Plugin ฮบริด คือไฮบริดที่มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ สามารถที่จะชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้ในต่างประเทศภาครัฐเลือกที่จะให้การสนับสนุนกับยานยนต์ไฟฟ้า 2 รูปแบบคือ ไฟฟ้าล้วน กับ Plugin ไฮบริด เพราะเป็นเพียงแค่สองรูปแบบที่สามารถชาร์จไฟจากผนังบ้านได้

ถ้าเราอยากหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเราควรคำนึงถึงอะไรบ้าง

ที่สำคัญคือ ลักษณะการใช้งาน เพราะถึงแม้ยานยนต์ไฟฟ้าจะมีข้อดีแต่ก็มีข้อจำกัดก็ต้องยอมรับว่ารถ EV เข้ามาใกล้ตัวเรามาก
ขึ้นแต่ราคาในปัจจุบันอาจจะยังสูงอยู่หลายคนอาจจะเลือกให้เป็นรถคันที่ 2 เราต้องสำรวจพฤติกรรมการใช้งานของเราเพื่อที่จะใช้
ประโยชน์จากรถ EV ได้อย่างเต็มที่ อย่างเช่นเรามีรถหลายคันแทนที่เราจะใช้รถที่ใช้น้ำมันคันใหญ่ขับในเมืองทุกวันลองใช้รถไฟฟ้า
เพื่อประหยัดในระยะยาว เป็นต้น

พฤติกรรมแบบไหนที่เหมาะกับรถ EV

ขับระยะทางสั้น ๆ เช่นขับในกรุงเทพฯ ใปถึงชานเมือง ขับบ่อย ๆ ขับเยอะ ๆ จะคุ้มมาก นอกจากนี้รถ EV ยังมีลักษณะเฉพาะคือ เงียบ อัตราเร่งดีขับแล้วนุ่ม ซึ่งในสมัยก่อนรถที่ขับแล้วเงียบขนาดนี้อาจจะมีราคาแพงมากแต่รถ EV ก็ไม่ได้มีราคาแพงขนาดนั้น แต่ก็ยังมีประเด็นในเรื่องของการชาร์จไฟที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านก็จะติดตั้งที่ชาร์จส่วนตัวได้ แต่คนในเมืองส่วนใหญ่ที่อยู่บ้านขนาดเล็กหรือห้องชุด ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งก็ต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน และการติดตั้งกล่องชาร์จไฟตามอาคารต่าง ๆ ซึ่งบางประเทศก็กำหนดเป็นมาตรฐานของการสร้างอาคารแล้ว

ข้อควรกังวลของการใช้รถ EV มีอะไรบ้าง

คำถามหลัก ๆ ที่มักจะได้ยินคือ สามารถขับระยะทางไกล ๆ ได้หรือไม่แบตเตอรี่จะไฟไหม้หรือไม่ไฟฟ้าแรงสูงน่ากลัวหรือไม่ในส่วนของคำถามว่าขับไกลได้หรือไม่ ถ้าเราขับอยู่แต่ในเมืองก็สบาย หรือถ้าเราขับไปนครปฐมกับระยะทางการใช้งาน ประมาณ 400 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้งนี่ก็ไมใช่สิ่งที่ต้องกังวล

หลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับรถ EV ของคณะเราจะตอบโจทย์อะไรให้กับวงการยานยนต์หรือคนใช้รถอย่างไรบ้าง

หลักสูตรของเราก็จะตอบโจทย์ของภาครัฐเพราะภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เปลี่ยน ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ ของหลักสูตรเราคือคนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่อยากจะมาดูว่ายานยนต์แห่งอนาคตจะไปทางไหนได้บ้าง เช่น ตัวรถก็มีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใด โครงสร้างรถ วัสดุ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องรองรับความแข็งแรงมากขึ้น ต้องเบาขึ้น หรือในเรื่องของแบตเตอรี่ มอเตอร์ ซึ่งก็จะเป็นทางด้านไฟฟ้าเคมี เป็นต้นนอกจากเรื่องของตัวรถก็เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมดิจิทัล EV ก็มาพร้อมกับสถานีชาร์จคือจะมีการศึกษาว่าคนที่จะมาใช้บริการจะมีพฤติกรรมอย่างไรซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทางผู้ผลิตต้องการจะทราบ เป็นต้น ก็เรียกได้ว่าเป็นการรวมของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาจจะมีคนตั้งคำถามว่าภาคอุตสาหกรรมของเราเกี่ยวกับ EV มั้ยซึ่งในวิชานี้เราก็จะทำให้เห็นภาพโดยเราจะแตะทั้ง 3 เรื่อง คือ เรื่องเทคโนโลยี จะรู้ตั้งแต่พื้นฐานของตัวเทคโนโลยีเลยว่า EVจะมีอะไรบ้างอนาคตของ EV จะเป็นอย่างไรแล้วก็ยังมีแบบจำลองทางธุรกิจว่ามีอย่างไรบ้าง เช่น ธุรกิจ EV ไม่ใช่ขายขาด อาจจะมีระบบสมัครสมาชิกเพื่อสิทธิพิเศษ หรือบริการเสริมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมกับสังคมด้วย เพราะ EV เกิดขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรม และการปรับเปลี่ยนทางสังคมซึ่งทั้ง3ประเด็นจะทำให้ผู้เรียนมองภาพออกว่าตัวเองจะเข้าไปมีส่วนร่วมในจุดไหนกับตลาดของ EV ที่เติบโตขึ้น

การพัฒนายานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงแบบ PEM (w.ศ. 2548-2550)

ด้วยความร่วมมือกับภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาและอนุรักษ์พลังงานทดแทนกระทรวงพลังงาน ได้มีการศึกษาถึงพฤติกรรมของเซลล์เชื้อเพลิงแบบ PEM ในการใช้งานที่มีลักษณะเฉพาะเชิงพลศาสตร์กับการใช้นในยานยนต์ผลการศึกษาพบว่าค่าประสิทธิภาพเชิงระบบในลักษณะการจราจรในบริเวณจุฬาฯมีค่าใกล้เคียงกับค่า
แบบคงตัว ผิดไปไม่เกิน 3% การศึกษาต่อเนื่องไปนำไปสู่การพัฒนาระบบขับเคลื่อนเซลล์เชื้อเพลิงแบบไฮบริดสำหรับรถจักรยานยนต์ โดยพิจารณาใช้เซลล์เชื้อเพลิงชนิด PEM พิกัด 1.2 กิโลวัตต์ เป็นแหล่งพลังงานปฐมภูมิ และเลือกแหล่งจ่ายพลังงานทุติยภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบขับเคลื่อนเซลล์เชื้อเพลิงแบบไฮบริดสำหรับรถจักรยานยนต์ระหว่างแบตเตอรี่หรือชุดเก็บประจุความจุสูง

การพัฒนาการออกแบบเชิงระบบเพื่อใช้เชื้อเพลิงในยานยนต์ผนวกกับการพัฒนาระบบเก็บกักพลังงานแบบไฮบริดพ่วงกับตัวเก็บประจุความจุสูง พร้อมกับการพัฒนาตัวเซลล์โดยภาควิชาเคมีเทคนิค นำมาสู่การพัฒนาตุ๊กตุ๊กเซลล์เชื้อเพลิงคันแรกของประเทศไทย (พ.ศ. 2550 โดยในการทดสอบ ยานยนต์ให้สมรรถนะอย่างเป็นที่น่าพอใจ และโดยเปรียบเทียบ ผลการศึกษาได้ระบุ
ถึงความเหมาะสมของชุดเก็บประจุความจุสูงเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดในการทำงานแบบไฮบริด

 

ตัวอย่างพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเซลล์เชื้อเพลิงแบบ PEM และตุุ๊กตุ๊กเซลล์เชื้อเพลิงคันแรกของประเทศไทย (พ.ศ. 2550)

“ยานยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV เป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนโลกนี้” เป็นการสะท้อนความคิดของ คุณรังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์ นิสิตในโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learningที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในชุดรายวิชาปลุกธุรกิจปั้นอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า (Paving your way to e-mpbility) เพราะมองเห็นว่า ขณะนี้ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างเห็นได้ชัด

แม้คุณรังสรรค์จะมีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเนื่องจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่เพราะยายนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่กำลังมาเปลี่ยนโลกจึงจำเป็นต้องมาทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่เกี่ยวกับนวัตกรรม และเทคโนโลยีของยานยนต์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน คุณรังสรรค์ เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรียิ่งตอกย้ำว่า นวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คุณรังสรรค์รวมถึงผู้ศึกษาในหลักสูตรที่จะนำความรู้ไปต่อยอดในการประกอบธุรกิจนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้า

ในมุมมองของคุณรังสรรค์ ยายนต์ไฟฟ้า เป็นทั้งสิ่งที่น่ากลัวและโอกาสเพราะการมาของรถยนต์ EVเป็นภัยคุกคามของอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่มีอยู่ในการผลิตเครื่องยนต์แบบใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่อีกนัยยะหนึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่มีความพร้อมก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ที่จะครองถนนทั่วโลกในอนาคต

ซึ่งชุดรายวิชา ปลุกธุรกิจ ปั้นอนาคต ยานยนต์ไฟฟ้า (Paving your way to e-mpbility) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเหมือนผู้ให้โอกาสที่จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะเติบโตในตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การเข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้ จึงเป็นเหมือนการมาทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ (upskill)

ก่อนหน้านี้ คุณรังสรรค์ พยายามหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ EVมาหลากหลายช่องทาง แต่ก็ไม่สามารถหาได้ครบถ้วน จนทราบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรนี้จึงมั่นใจว่าที่นี้จะเป็นแหล่งความรู้ด้านรถยนต์ EVอย่างครบวงจรที่พร้อมปลุกทุกธุรกิจ และปั่นอนาคต ของยานยนต์ไฟฟ้า ตามชื่อชุดวิชาเรียน