บรรยากาศงาน Intania Young Alumni Forum 2018
การรวมตัวกันขึ้นมาของ Intania Young Alumni (IYA) นั้น เป็นส่วนหนึ่งให้พวกเราในกลุ่มนิสิตเก่าที่ประมาณ 15 รุ่น ได้มีโอกาสพบปะใกล้ชิดระหว่างรุ่นพี่น้องกัน ให้บรรยากาศเป็นเหมือนครั้งที่พวกเราเป็น “นิสิต วิศวฯจุฬาฯ” ที่ผมเชื่อว่าเป็นประสบการณ์ช่วงหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนมีประทับใจ
งาน Intania Young Alumni Forum 2018 นี้ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่พวกเราชาว IYA เล็งเห็นว่าเป็นรูปแบบกิจกรรมที่มีประโยชน์ ทำให้พี่ๆ น้องๆ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน มาให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงสังคมเราให้ดีขึ้น ในแบบเป็นกันเองที่สุดตามประสาชาวอินทาเนียอย่างเรา
ในปี 2018 นี้ มาในหัวข้อ “CHANGE” อันเนื่องด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงอันมากมายและรวดเร็วขึ้นในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะจาก Digital & Technology Disruption ที่จะส่งต่อกระบวนการศึกษาเรียนรู้ในอนาคตต่อจากนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คณะทำงานจัดงานจึงได้ระดมสมองกันแล้วนำเสนอหัวข้องาน Talk ในช่วงบ่ายออกเป็น 4 หัวข้อ อันได้แก่
- CHANGE of Thailand Future Cities in 4.0 Era
- CHANGE to Succeed in Dynamic Business World
- CHANGE of our Wisdom
- CHANGE of Future Energy
โดยได้รับเกียรติจากพี่ๆ น้องๆ นิสิตเก่า ที่ล้วนแต่เป็นผู้คร่ำหวอดจากหลากหลายวงการ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และพลังรุ่นใหม่ที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาร่วมให้ความเห็นในแต่ละหัวข้อ อาทิ เช่น พี่ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (วศ.18) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัจจุบันดูแลนโยบายของประเทศในเรื่องของอนาคตของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต, พี่สมโภชน์ อาหุนัย (วศ.28) CEO Energy Absolute PCL ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้วยฝีมือคนไทย, พี่สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร (วศ.51) คนรุ่นใหม่ผู้มี Passion อันแรงกล้าที่จะยกระดับกระบวนการศึกษาและเรียนรู้ของเยาวชนไทย จนก่อตั้ง Saturday School ให้เป็นสถานที่ที่สร้างโอกาสในการเรียนรู้นอกเหนือการห้องเรียนให้กับเด็กไทยทุกคน
สำหรับงานเลี้ยงช่วงเย็น ในคอนเซปต์ “Green November Fest” ทำการเนรมิตลานเกียร์ที่คุ้นเคย ให้เป็นบรรยากาศลานเบียร์เยอร์มัน โดยมีพี่สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ นายกสมาคมนิสิตเก่าฯ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน นอกจากนี้ในงานมีการจัดซุ้มเกมส์ต่างๆ มากมาย รวมทั้งกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นอย่างสนุกสนานที่สร้างความประทับใจในสไตล์อินทาเนียตลอดทั้งงาน
ในนามตัวแทนของทีมคณะทำงานจัดงานในปีนี้ ขอใช้โอกาสขอบพระคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน ผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ รวมทั้งทีมงานทุกคนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ที่เสียสละทั้งเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อแสดง INTANIA SPIRIT ร่วมกัน ทุกท่านมีส่วนร่วมให้งาน Intania Young Alumni Forum 2018 : CHANGE นี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครับ ผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่า พลังของชาว IYA จะเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความแน่นแฟ้น ความผูกพัน การพัฒนาด้านต่างๆ ของสังคมไทยของเรา ต่อๆ ไปครับ
Until we meet again 🙂
อาทิตย์ ชีวชัชวาล (PoP) วศ.2545
ประธานคณะทำงานจัดงาน Intania Young Alumni Forum 2018
คราวนี้ลองมาฟังฟังความรู้สึกของ น้องทิน (Intania 101) และ น้องเฟรม (Intania 102) กันบ้างครับ
นาย ทินภัทร รณรงค์ (ทิน) ปี2 (Intania 101) ภาคอุตสาหการ
“60 86 87 89 97 101 ตัวเลขเหล่านี้ที่บ่งบอกรุ่นของพวกเราเหล่าพี่น้อง เเต่ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงเเค่ตัวเลขที่เตือนให้ระลึกความเคารพกันในสายเลือดวิศวฯจุฬาที่สืบต่อมามากกว่า 100 ปี เลขเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายใดๆ กับความเเน่นเเฟ้น และความเป็นพี่น้องของเรา ต่อให้ห่างกัน 20 ปี หรือ 80 ปี วิศวฯจุฬายังคงช่วยเหลือกัน
ความเชื่อนี้ ผมได้มาหลังจากที่ได้เข้าไปเป็นน้องเล็กรุ่น101 ในการช่วยงาน IYA Forum 2018 ท่ามกลางพี่ๆรุ่นใหญ่ในห้องประชุม พี่ๆยังหันมาถามไถ่ ให้ขนม ถามความเห็น หลังจากเราเจอกันพี่น้องยังทักทายกันด้วยรอยยิ้ม ผมได้ช่วยพี่ๆคอยเตรียมงาน ในวันที่เตรียมพร้อมให้พวกเรามารวมตัว งานจบไปได้ด้วยดี เพราะพี่นำ น้องก็ทำไม่เกี่ยงรุ่น ด้วยการนี้ ผมจึงได้สัมผัสจึงรู้สึกถึงความเเน่นแฟ้น
หากมีใครบอกว่าการเรียนจบที่นี่ สิ่งเดียวที่คุณติดตัวไปคือ Engineering Thought Process หรือการคิดเเบบวิศวะ เเต่ไม่ครับ ความสัมพันธ์ของพี่น้องที่มองไม่เห็น ได้กลับไปเเละสำคัญกว่าเป็นไหนๆ”
นาย รัตนวงศ์ สุมาตรา (เฟรม) ปี 1 (Intania 102)
“ผมเป็นเฟรชชี่คนเดียวในงาน ในขณะที่ผมชวนเพื่อนด้วยกันก็ไม่มีใครสนใจ แต่ผมกลับอยากมามาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผมชอบเข้างานกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว แต่อีกสาเหตุหนึ่งคือผมรู้สึกรักในวิศวะจุฬาครับ
ผมเป็นเด็กซิ่ว ปีก่อนยังไม่รู้จักวิศวฯจุฬา เลยสมัคร วิศวฯ มอ.หาดใหญ่ ติดอันดับ 1 ของวิศวฯโยธา แต่หลังสอบได้พบกับรุ่นพี่นายช่าง เล่าถึงความรักในวิศวฯจุฬา ความรักเพื่อน การเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง และตำนานความผูกพันของรุ่น ทำให้ผมรู้สึกว่า สิ่งที่พวกผมทำกัน ไม่มีแบบที่พี่เค้าเล่ามาเลย โตมาในติวเตอมาตั้งแต่เด็ก เลยอยากรู้ว่าของจริงเป็นยังไง จึงตัดสินใจไม่ยืนยัสิท และตั้งใจสอบเข้าจุฬาให้ได้
ผ่านมา 1 ปี ติดจุฬา เข้ารับน้องปี1ของจุฬา แต่สิ่งที่ผมเจอไม่เหมือนที่คิดไว้ ความสนิทกันแบบที่เล่ามา ความเป็นวิศวฯจุฬา มันจางหายไป รู้สึกผิดหวัง แค่สนิทกับเพื่อนกรุ๊ปเดียวกันยังไม่เท่าสมัยพี่ๆเลย หลังจากเจอการแข่งขันในจุฬา ผมก็เริ่ม”ลืม”ความรู้สึกจากเรื่องเล่าของรุ่นพี่นายช่างท่านนั้น
ในขณะที่ผมกำลังเหน็ดเหนื่อยกับการเรียน และแล้วผมก็มาเจอกับงานแรกที่ผมจะได้เจอพี่ๆนายช่าง “IYA Forum 2018” Intania คืออะไร ความผูกพันธ์แบบวิศวะจุฬาเป็นอย่างไร ผมอธิบายไม่ได้หรอกครับ เพราะในงาน สิ่งที่ผมรู้สึกมันไม่สามารถอธิบายได้หมดจริงๆ
ในช่วงก่อนเริ่มงานนั้น ผมและรุ่นพี่ที่ต่างคนต่างรุ่น ต่างมาช่วยกันเตรียมงานตั้งแต่งานยังไม่เริ่ม ทั้งๆที่หลายคนไม่ได้รู้จักกัน แต่สิ่งที่สัมผัสได้ คือความรักความผูกพัน ในงานทุกคนร่วมเวิร์คช็อปกันอย่างสนุกสนาน เป็นการเรียนรู้ที่แทบหาไม่ได้เลยในการศึกษาไทย พวกเราสนุกกับการเรียนรู้จากความรู้ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน ตกเย็น งานเฉลิมฉลองใหญ่จึงเริ่มต้นขึ้น ผมเองไม่มีคนรู้จักในงานเลยครับ ทุกคนมีเพื่อนร่วมรุ่นกันหมด ยกเว้นผม…แต่ทันใดนั้นเอง พี่หมู ประธาน IYA ก็เดินเข้ามาถามผมว่าทำไมนั่งอยู่คนเดียว? แล้วพี่เค้าก็พาไปนั่งโต๊ะร่วมกับบรรดารุ่นพี่ เรากลับมีความรู้สึกผูกพันธ์และคุยกันง่ายมาก เพราะเราเป็น “INTANIA” เหมือนกัน
ผ่านไปช่วงเวลาประมาณ 5 ทุ่ม เวลานั้นผมกำลังกอดคอกับรุ่นพี่นายช่างและร้องเพลงไปด้วยกัน ผมสนิทกับรุ่นพี่นายช่างเกือบ 30 คนไปโดยไม่รู้ตัว สิ่งหนึ่งที่ผมรู้คือ ความสนิทกันของรุ่นพี่นายช่างนั้นเป็นอย่างไร ความเป็น Intania เป็นอย่างไร มันไม่ได้อยู่ในงานนั้น แต่อยู่ในหัวใจชาว Intania ทุกคน… ขอบคุณวิศวฯจุฬาที่ทำให้ผมได้พบกับสิ่งที่ดีและสวยงามแบบนี้ครับ”
ผ่านไปช่วงเวลาประมาณ 5 ทุ่ม เวลานั้นผมกำลังกอดคอกับรุ่นพี่นายช่างและร้องเพลงไปด้วยกัน ผมสนิทกับรุ่นพี่นายช่างเกือบ 30 คนไปโดยไม่รู้ตัว สิ่งหนึ่งที่ผมรู้คือ ความสนิทกันของรุ่นพี่นายช่างนั้นเป็นอย่างไร ความเป็น Intania เป็นอย่างไร มันไม่ได้อยู่ในงานนั้น แต่อยู่ในหัวใจชาว Intania ทุกคน… ขอบคุณวิศวฯจุฬาที่ทำให้ผมได้พบกับสิ่งที่ดีและสวยงามแบบนี้ครับ”