ประวัติ “พระเจริญวิศวกรรม” ผู้บุกเบิกการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศไทย

เจริญ เชนะกุล, ส.ก.๒๐๔๐ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ ศราภัยวณิช*/ศราภัยวานิช/เชนะกุล**) James Shea (พ.ศ.๒๔๓๘-๒๕๓๐)
บิดาแห่งวิศวกรรมแผนใหม่ (Father of Modern Engineering)
นักฟุตบอลสวนกุหลาบฯชุดชนะเลิศ พ.ศ.๒๔๕๔
ผู้ออกแบบก่อสร้างอัฒจันทร์ไม่มีเสาหลังคาสนามศุภชลาศัย (ฝั่งที่ประทับ)

ประวัติ “พระเจริญวิศวกรรม” ผู้บุกเบิกการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศไทย

พระเจริญวิศวกรรม เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นบุตร Mr.John Edward Austin Shea, M.I.E.E. ชาวอังกฤษ เชื้อสายไอริช และนางกี๋ ชาวจังหวัดนครสวรรค์ บิดาสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เข้ามาประจำทำงานอยู่กรมการไฟฟ้าในขณะนั้น เป็นนายช่างวิศวกรไฟฟ้า ต้องเข้าไปดูแลการติดตั้งเดินสายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง อยู่เป็นประจำ จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับนางกี๋ ซึ่งเป็นข้าหลวงอยู่ในตำหนักของเจ้านายฝ่ายเหนือและได้แต่งงานกัน พระเจริญวิศวกรรมจึงได้รับการอบรมทั้งแบบฝรั่งและแบบไทย พูดภาษาอังกฤษและไทยได้ตั้งแต่เล็กๆ แต่ก็ดำเนินชีวิตแบบไทยแท้ นับถือศาสนาพุทธตามฝ่ายมารดา นอกจากนี้ Mr.John Edward Austin Shea ยังได้ร่วมจัดสร้างรถรางสายรอบเมืองจนเสร็จและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จเปิด และท่านสวมชุด Tail Coat ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถรางพระที่นั่งถวายในการเปิดใช้รถราง Continue reading “ประวัติ “พระเจริญวิศวกรรม” ผู้บุกเบิกการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศไทย”

ระบบเสียงสำหรับระบบไฟฟ้าสื่อสารภายในอาคารและระบบเสียงเพื่อความบันเทิง

Source: คอลัมน์ เก็บมาฝาก วารสาร Intania April – June 2020  ดาวน์โหลด E-Book (PDF)

สิบสองปันนา (Xishuangbanna) ดินแดนบรรพบุรุษคนไทย หรือ?

Source: คอลัมน์ เที่ยวกับอินทาเนีย วารสาร Intania April – June 2020  ดาวน์โหลด E-Book (PDF)

บรรยากาศงาน Intania Young Alumni Forum 2018

การรวมตัวกันขึ้นมาของ Intania Young Alumni (IYA) นั้น  เป็นส่วนหนึ่งให้พวกเราในกลุ่มนิสิตเก่าที่ประมาณ 15 รุ่น  ได้มีโอกาสพบปะใกล้ชิดระหว่างรุ่นพี่น้องกัน  ให้บรรยากาศเป็นเหมือนครั้งที่พวกเราเป็น “นิสิต วิศวฯจุฬาฯ” ที่ผมเชื่อว่าเป็นประสบการณ์ช่วงหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนมีประทับใจ  Continue reading “บรรยากาศงาน Intania Young Alumni Forum 2018”

วังวินเซอร์ : ใครเลยจะระลึกถึง

                หากใครที่เคยเดินผ่านสนามศุภชลาศัย : หรือคนที่ไปเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ น้อยคนนักที่จะทราบว่าบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นวังที่มีความสำคัญยิ่ง

                วังวินเซอร์ (Windsor Castte) หรือวังกลางทุ่งนั้น เป็นที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย โดยสร้างเลียนแบบจากพระราชวังวินเซอร์ในประเทศอังกฤษ วังวินเซอร์มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบโกธิก (Gothic) ซึ่งรโหฐานสวยสง่า ดังรูป

                แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทยเสด็จทิวงคตอย่างกะทันหัน

                เมื่อมีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมวังวินเซอร์ดังกล่าวด้วย โดยทางมหาวิทยาลัยได้ใช้เป็นห้องเรียน และต่อมาเป็นหอพักนิสิตแรกจนนิสิตเรียนกันด้วยความเคยชินว่า “หอวัง”

                ทุกสิ่งย่อมเป็นอนิจจัง จากสามัญสู่สูงสุด และสูงสุดสู่สามัญ ระสุดท้ายแห่งวังวินเซอร์ได้มาถึง เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปรารภว่าประเทศไทยควรมีสนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium) เยี่ยงอารยประเทศอื่นๆ วังวินเซอร์จึงถูกทุบเพื่อสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ สนามศุภชลาศัย อย่างที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้อย่างน่าเสียดายยิ่ง